minus academy faq plus academy faq Check in circle Apple Android Home Magnifer Calculator Mail Email Facebook Twitter RSS Linkedin Linkedin hollower Headphones Wechats Instagram Line Mail 2 Phone Phone 2 Minus Plus Arrow right Arrow left (variant 2) Arrow right (variant 2) Brand logo Brand logo not filled Hamburger Flag of the Hong Kong Flag of the US/GB Flag of the US/GB Flag of the US/GB Flag of the China Flag of the China Flag of the China (traditional) Flag of the Taiwan Flag of the Hong Kong Flag of the Spain Flag of the Russia Flag of the France Flag of the German Flag of the Portugal Flag of the Italy Flag of the Poland Flag of the Czech Flag of the Hungary Flag of the Sweden Flag of the Bulgarian Flag of the Finland Flag of the Lithuania Flag of the Denmark Flag of the Croatia Flag of the Estonia Flag of the Norway Flag of the Romania Flag of the United Arab Emirates Flag of the United Arab Emirates Flag of the Indonesia Flag of the Malaysia Flag of the Korea Flag of the Korea Flag of the Samoa Flag of the Vietnam Flag of the Thailand Flag of the Turkey Flag of the Japan Cross Cross large User Arrow down Arrow up Cube Info list Data comunication Clock Slash

นโยบายต่อต้านการฟอกเงิน (AML)

(พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)

นิยามทั่วไป

คำด้านล่างจะมีความหมายตามที่ระบุต่อไปนี้ยกเว้นบริบทกำหนดไว้เป็นอื่น

“ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ” หมายถึง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ, ด้านการดำเนินงานหรือการพาณิชย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด เมื่อเริ่มความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายคาดหวังว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะคงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง

“ลูกค้า” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ, ทำธุรกรรมรายการหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งกับบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด

“บริษัท” หมายถึง หนึ่งในองค์กรที่ระบุด้านล่างนี้

บริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด จัดตั้งในประเทศเซเชลส์ หมายเลขบริษัท: 8422618-1 หมายเลขผู้จัดการประกันสังคม: เอสดี027

“กฎหมาย” หมายถึง พระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2552 (2009)

“คู่มือ” หมายถึง คู่มือการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัด

“การฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย” หมายถึง การกระทำผิดข้อหาการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามที่ระบุในข้อย่อย 3 (การกระทำผิด) ของพระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2552 (2009)

 

บทนำ

คู่มือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัดเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

คู่มือนี้จัดทำและอัปเดตเป็นครั้งคราวโดยฝ่ายต่อต้านการฟอกเงิน

 

การปฏิบัติตามระเบียบ

คณะกรรมการ (จากนี้จะอ้างถึงโดยเรียกว่า “คณะกรรมการ”) ของบริษัท Zeal Capital Market (ประเทศเซเชลส์) จำกัดจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (จากนี้จะอ้างถึงโดยเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน-AMLCO”) เพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย การปรับแก้และ/หรือเปลี่ยนแปลงคู่มือนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินจะเผยแพร่คู่มือนี้ต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ทำหน้าที่จัดการ, เฝ้าระวังหรือควบคุมธุรกรรมของลูกค้าและดำเนินงานตามแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมที่กำหนด คู่มือนี้จัดเตรียมโดยสอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย

 

การบังคับใช้คู่มือ

คู่มือนี้บังคับใช้กับบริการทุกประเภทของบริษัท, การติดต่อกับลูกค้า,  ธุรกรรมการซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้ประสงค์ให้ส่งมอบสกุลเงินต่างประเทศที่ตกลงซื้อ-ขายจริงๆหรือไม่ได้ตกลงชำระธุรกรรมด้วยเงินสดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงขนาดหรือความถี่ของธุรกรรมการซื้อ-ขายผ่านบัญชีของลูกค้า

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่อัปเดตคู่มือเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมายที่บังคับใช้ในอนาคต และสอดคล้องกับขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าที่ทำธุรกรรมซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศกับบริษัท

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายมีดังต่อไปนี้:

  1. กำหนด, บันทึกและอนุมัติหลักการและนโยบายทั่วไปของบริษัทที่เกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายและแจ้งนโยบายนี้ต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน
  2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้าจำเป็น) , ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่และบันทึกในคู่มือ
  3. อนุมัติคู่มือ
  4. ตรวจเช็กการปฏิบัติตามกฎหมาย, ดูแลให้มีระบบและการควบคุมที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและครอบคลุมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
  5. ดูแลให้เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้ามี) และเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย (นั่นคือ บุคลากรฝ่ายธุรการ/กิจการภายใน) จัดทำและสามารถใช้ข้อมูลการระบุตัวตนของลูกค้า, เอกสารการทำธุรกรรม (ในกรณีที่บังคับใช้), ไฟล์และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างไม่ล่าช้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. พนักงานทุกคนต้องรับทราบการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วย (ถ้ามี) เนื่องจากพนักงานต้องรายงานธุรกรรมและ/หรือกิจกรรมที่พบหรือสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและผู้ช่วยเหล่านี้
  7. กำหนดสายการรายงานที่ชัดเจนและรวดเร็วเพื่อรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัยต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินโดยไม่ล่าช้าไม่ว่ารายงานโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินหรือผ่านผู้ช่วย (ถ้ามี) และแจ้งเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินให้ทราบสายการรายงานนี้ตามที่ระบุไว้ในคู่มือ
  8. ดูแลให้เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและหัวหน้าฝ่ายธุรการ/กิจการภายในมีทรัพยากรเพียงพอในการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถและอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงิน

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินคือเจ้าหน้าที่ระดับสูงในบริษัทที่สามารถสั่งการหน่วยงานในบริษัทตามที่จำเป็น เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินเป็นผู้นำในการใช้ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการต่อต้านการฟอกเงินและรายงานผลต่อฝ่ายบริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่

ในการปฏิบัติหน้าที่และควบคุมการดำเนินงานของบริษัทให้สอดคล้องกับกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินจะได้รับและสามารถเข้าถึงข้อมูลและรายงานที่จัดทำโดยองค์กรรระหว่างประเทศ

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีดังต่อไปนี้:

  1. กำหนดแนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามหลักการและนโยบายทั่วไปของบริษัท มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการใช้เทคโนโลยีและระบบบริการทางการเงินอย่างไม่ถูกต้องและเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายจะใช้เป็นแนวทางเมื่อมีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และการเปลี่ยนโปรไฟล์ทางการเงินของบริษัท (เช่น การเข้าตลาดใหม่)
  2. จัดทำและกำหนดนโยบายการรับลูกค้าและเสนอนโยบายต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
  3. ตรวจแก้และอัปเดตคู่มือตามที่จำเป็นเป็นครั้งคราว และแจ้งการอัปเดตนั้นต่อคณะกรรมการเพื่อการอนุมัติ
  4. ให้คำแนะนำและแนวทางแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

การติดตามตรวจสอบบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงจากการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่ติดตามและจัดทำขั้นตอนการติดตามตรวจสอบที่บริษัทนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายดังต่อไปนี้:

  1. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในต้องตรวจสอบและประเมินความเหมาะสม, ประสิทธิภาพและความครอบคลุมของนโยบาย, แนวทางการปฏิบัติ, มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกลไกการควบคุมอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายตามที่ระบุในคู่มือ
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทำรายงานผลการตรวจสอบและสังเกตการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรตามที่ระบุในข้อ 1 และส่งรายงานถึงคณะกรรมการ
ขั้นตอนการทำความรู้จักลูกค้าตามระดับความเสี่ยง
 

บริษัทใช้แนวทางการปฏิบัติและมาตรการที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังกิจกรรมที่มีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายสูงกว่ากิจกรรมอื่น

แนวทางการปฏิบัติตามระดับความเสี่ยงที่บริษัทนำมาใช้และอธิบายไว้ในคู่มือนี้มีดังต่อไปนี้:

  1. รับทราบว่าแต่ละกลุ่มลูกค้า, ประเทศ, การบริการและเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายแตกต่างกัน
  2. คณะกรรมการจัดประเภทลูกค้าตามระดับความเสี่ยงของธุรกิจของลูกค้า
  3. คณะกรรมการมีแนวทางของตนเองในการจัดทำนโยบาย, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะและลักษณะเฉพาะของบริษัท
  4. ช่วยสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย

แนวทางการปฏิบัติตามระดับความเสี่ยงที่บริษัทปฏิบัติและอธิบายไว้ในคู่มือนี้ครอบคลุมมาตรการและขั้นตอนการประเมินวิธีที่เหมาะสมที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายของบริษัท

มาตรการดังกล่าว ได้แก่:

  1. ระบุและประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายของลูกค้าบางท่านหรือบางกลุ่ม, เครื่องมือทางการเงินหรือบริการบางประเภท, หรือบางพื้นที่ที่ลูกค้าดำเนินธุรกิจอยู่
  2. จัดการและลดความเสี่ยงตามที่ประเมินโดยใช้มาตรการ, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  3. ติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานตามนโยบาย, ขั้นตอนการปฏิบัติงานและการควบคุมอย่างต่อเนื่อง

การใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีลักษณะและขอบข่ายเหมาะสมตามระดับความเสี่ยงขึ้นอยู่กับตัวบ่งชี้ต่างๆซึ่ง ได้แก่:

  1. ระดับและความซับซ้อนของบริการที่บริษัทเสนอให้ลูกค้า
  2. พื้นที่ที่บริษัทให้บริการและที่ตั้งของบริษัทลูกค้า
  3. ลักษณะ (เช่น ไม่พบกับลูกค้าโดยตรง) และโปรไฟล์ทางการเงินของลูกค้า, เครื่องมือทางการเงินและบริการที่บริษัทเสนอ
  4. ปริมาณและขนาดของธุรกรรม
  5. แหล่งที่มาและปลายทางของเงินทุนของลูกค้า
  6. ลักษณะของธุรกรรมในการทำธุรกิจ

องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำและใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามระดับความเสี่ยงและในการทำความรู้จักลูกค้า เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินและหัวหน้าฝ่ายธุรการ/กิจการภายในต้องอ้างอิงตามข้อมูลและรายงานที่เชื่อถือได้จากองค์กรระหว่างประเทศดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา
  2. กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน สหภาพอังกฤษ (EEAS)
  3. กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรป
  4. คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FTAF)

ขั้นตอนการระบุตัวตนลูกค้า

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องได้รับเอกสารและข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบที่บังคับใช้และตามความเหมาะสมดังนี้

  1. บริษัทต้องได้รับข้อมูลต่อไปนี้เพื่อยืนยันตัวตนที่แท้จริงของบุคคลธรรมดา:
    ก.ชื่อจริง และ/หรือชื่อตามที่ระบุในบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
    ข. อยู่ถาวรที่ครบถ้วน (รวมถึงรหัสไปรษณีย์) ตามที่ระบุในเอกสารข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:
    i. ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคของที่พักอาศัย
    ii. ใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement)
    ค. หมายเลขโทรศัพท์ (บ้านและมือถือ) และโทรสาร
    ง. อีเมล (ถ้ามี)
    จ. วันและสถานที่เกิด
    ฉ. เชื้อชาติ
    ช. รายละเอียดอาชีพของลูกค้ารวมถึงชื่อนายจ้าง/บริษัท (ถ้าจำเป็น) ในกรณีที่ข้อมูลขัดแย้งกัน
  2. เพื่อยืนยันตัวตน/ชื่อลูกค้า ลูกค้าต้องแสดงเอกสารฉบับจริงที่ออกโดยหน่วยงานอิสระที่เชื่อถือได้และมีรูปภาพของลูกค้าบนเอกสาร (เช่น หนังสือเดินทาง, บัตรประชาชน, ใบขับขี่) หลังบริษัทได้รับเอกสารยืนยันตัวตนฉบับจริงของลูกค้า บริษัทจะเก็บสำเนาเอกสารนี้ไว้ บริษัทต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเอกสารเหล่านี้ออกโดยหน่วยงานอิสระที่เชื่อถือได้ เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องประเมินความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่ออกเอกสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่บันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประเมินตามที่บังคับใช้

  3. ยืนยันความถูกต้องของที่อยู่ถาวรของลูกค้าโดยวิธีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้:
    ก. เยี่ยมชมที่อยู่ของลูกค้า (ในกรณีนี้เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่เยี่ยมชมสถานที่ต้องทำบันทึกเพื่อเก็บไว้ในไฟล์ของลูกค้า)
    ข. ตรวจสอบใบเสร็จสาธารณูปโภคล่าสุด (ไม่นานเกิน 6 เดือน) ใบเสร็จการชำระภาษีจากหน่วยงานท้องถิ่น, ใบแจ้งยอดเงินฝากธนาคาร (Bank Statement) หรือเอกสารอื่นในลักษณะเดียวกัน (ลูกค้าต้องแสดงเอกสารต้นฉบับเพื่อป้องกันการใช้เอกสารปลอมหรือลอกเลียนแบบ)
    ค. จดหมายทางการจากบริษัทที่ส่งไปยังที่อยู่ถาวรของลูกค้า โดยเจ้าหน้าที่ต้องทำสำเนาเนื้อหาในจดหมายไว้ด้วยเพื่อยืนยัน
  4. หากลูกค้ามาจากการแนะนำของพนักงานของบริษัทที่เชื่อถือได้หรือจากการแนะนำของลูกค้าท่านอื่นซึ่งรู้จักกับคณะกรรมการเป็นส่วนตัว  นอกจากขั้นตอนข้างต้นแล้วเจ้าหน้าที่ต้องเพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนลูกค้าโดยบันทึกรายละเอียดการแนะนำลูกค้าในไฟล์ลูกค้า

  5. มาตรการข้างต้นนอกจากเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย ข้อมูลข้างต้นยังจำเป็นต่อการปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางการเงิน เจ้าหน้าที่ต้องเช็กหมายเลขหนังสือเดินทาง, วันออกหนังสือเดินทางและวันเกิดลูกค้าในเอกสารที่บริษัทได้รับกับข้อมูลในลิสต์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อความชัดเจนว่าลูกค้ามีชื่อในลิสต์บุคคลที่ถูกสั่งลงโทษทางการเงินหรือไม่ ซึ่งต้องยืนยันกับแหล่งข้อมูลในลิสต์ขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

การอ้างอิงบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้า

ในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า บริษัทอาจอ้างอิงกับบุคคลที่สามดังต่อไปนี้:

  1. บุคคลที่สามสามารถแสดงข้อมูลทั้งหมดได้ทันที เอกสารต้องรับรองสำเนาถูกต้องและบริษัทต้องเก็บเอกสารในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า
  2. บริษัทใช้มาตรการตรวจสอบที่เหมาะสมกับบุคคลที่สามโดยเช็กการจดทะเบียนการประกอบอาชีพ และใช้ขั้นตอนการปฏิบัติงานและมาตรการอื่นๆเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุข้างต้น

ธุรกรรมที่น่าสงสัย

ลักษณะหรือประเภทธุรกรรมที่น่าสงสัยที่อาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายมีมากมายไม่จำกัด ธุรกรรมที่น่าสงสัยมักจะไม่สอดคล้องกับธุรกิจตามกฎหมายที่ลูกค้าแจ้ง หรือไม่สอดคล้องกับกิจกรรมส่วนตัว, ธุรกิจปกติในบัญชีของลูกค้าหรือโปรไฟล์ทางการเงินลูกค้าที่บริษัททำไว้ บริษัทต้องมีข้อมูลเพียงพอและทราบกิจกรรมของลูกค้าเพื่อรับทราบทันทีเมื่อมีธุรกรรมหรือชุดธุรกรรมที่ไม่ปกติหรือน่าสงสัย

เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องดำเนินการต่อไปนี้เพื่อสืบทราบธุรกรรมที่น่าสงสัย:

  1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการเงิน, กิจกรรมทางธุรกิจและประเภทธุรกรรมของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  2. ติดตามอย่างสม่ำเสมอว่าลูกค้าเกี่ยวข้องกับข้อใดข้อหนึ่งด้านล่างนี้หรือไม่ซึ่งอาจเป็นธุรกรรม/กิจกรรมที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

การฟอกเงิน

    1. ธุรกรรมที่ไม่มีวัตถุประสงค์แน่ชัดหรือมีความซับซ้อนโดยไม่จำเป็น
    2. ใช้บัญชีในต่างประเทศของบริษัทหรือกลุ่มบริษัทซึ่งมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นซับซ้อนและไม่สมเหตุสมผลกับความต้องการและโปรไฟล์ทางการเงินของลูกค้า
    3. ธุรกรรมหรือขนาดของธุรกรรมที่ลูกค้ามีคำขอไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติและกิจกรรมธุรกิจตามปกติของลูกค้า
    4. ปริมาณธุรกรรมขนาดใหญ่และ/หรือเงินที่หักออกหรือฝากเข้าบัญชีไม่สอดคล้องกับธุรกิจของลูกค้า
    5. ลูกค้าทำธุรกรรมรายการเดียวและใช้ระยะเวลาสั้น
    6. ไม่พบเหตุผลที่เหมาะสมในการที่ลูกค้าเลือกใช้บริการสถาบันทางการเงินบางแห่ง เช่น ลูกค้ามีที่อยู่ห่างไกลจากสถาบันทางการเงินแห่งนั้นและลูกค้าอยู่ในพื้นที่ที่สามารถใช้บริการสถาบันทางการเงินแห่งอื่นได้
    7. ลูกค้าทำธุรกรรมการซื้อ-ขายเครื่องมือทางการเงินประเภทเดียวบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลชัดเจนและดูผิดปกติ (โบรกเกอร์ซื้อ-ขายบ่อยหรือมากผิดปกติ)
    8. ลูกค้าซื้อเครื่องมือทางการเงินเฉพาะอย่างปริมาณน้อยแต่ซื้อ-ขายบ่อยครั้งและชำระด้วยเงินสด หรือลูกค้าขายเครื่องมือทางการเงินทั้งหมดในธุรกรรมเดียวและรับชำระด้วยเงินสด หรือลูกค้าสั่งโอนผลกำไรไปบัญชีที่ไม่ใช่บัญชีปกติของลูกค้า
    9. ลักษณะ, ขนาดและความถี่ของธุรกรรมดูผิดปกติ เช่น ยกเลิกคำสั่งซื้อ-ขายหลังการฝากผลกำไรเข้าบัญชี
    10. ธุรกรรมไม่สอดคล้องกับสภาพทั่วไปของตลาดโดยเฉพาะขนาดและความถี่ของคำสั่งซื้อ-ขาย
    11. การชำระธุรกรรมโดยใช้เงินสดโดยเฉพาะธุรกรรมขนาดใหญ่
    12. การชำระธุรกรรมโดยบุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกค้าผู้มีคำสั่งซื้อ-ขาย
    13. มีคำสั่งจ่ายเงินให้บุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ออกคำสั่ง
    14. การโอนเงินทุนไปที่หรือมาจากประเทศหรือพื้นที่ซึ่งไม่บังคับใช้คำแนะนำของ FATF เกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายหรือบังคับใช้อย่างไม่เคร่งครัด
    15. เมื่อเริ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจลูกค้าไม่สะดวกที่จะแจ้งข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับลักษณะและวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทางธุรกิจ, กิจกรรมที่คาดว่าจะทำผ่านบัญชี, ความสัมพันธ์กับสถาบันทางการเงินในอดีต, ชื่อเจ้าหน้าที่และกรรมการบริษัทลูกค้า, หรือที่ตั้งในการประกอบธุรกิจ ลูกค้ามักจะให้ข้อมูลน้อยที่สุดหรือให้ข้อมูลที่อาจทำให้เข้าใจผิดซึ่งตรวจสอบได้ยากหรือต้องมีค่าใช้สูงในการตรวจสอบ
    16. ลูกค้าแสดงเอกสารระบุตัวตนที่ผิดปกติหรือน่าสงสัยและไม่สามารถยืนยันความถูกต้อง
    17. เบอร์โทรศัพท์ที่บ้าน/บริษัทของลูกค้าไม่สามารถติดต่อได้
    18. ลูกค้าที่ไม่มีประวัติการทำงานในอดีตหรือปัจจุบันแต่สามารถทำธุรกรรมขนาดใหญ่หรือทำธุรกรรมได้บ่อยครั้ง
    19. ลูกค้า/นิติบุคคลแสดงใบแจ้งยอดเงินหรือเอกสารระบุตัวตนได้ช้าหรือมีปัญหาในการแสดงเอกสาร
    20. ลูกค้ามาจากการแนะนำของสถาบันการเงินต่างประเทศหรือบุคคลที่สามที่อยู่ในประเทศหรือพื้นที่ซึ่งไม่บังคับใช้คำแนะนำของ FATF เกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้ายหรือบังคับใช้อย่างไม่เคร่งครัด
    21. ลูกค้าทำธุรกรรมโดยใช้เงินสดและใช้ที่อยู่ร่วมกับที่อยู่อื่น เช่น บุคคลที่ใช้ที่อยู่เดียวกับสถานที่ประกอบธุรกิจและ/หรือที่อยู่ไม่สอดคล้องกับอาชีพที่ระบุ (เช่น นักศึกษา, ว่างงาน, มีธุรกิจของตัวเอง)
    22. อาชีพที่ลูกค้าระบุไม่สอดคล้องกับระดับหรือขนาดของธุรกรรมที่ลูกค้าสั่งดำเนินการ
    23. ธุรกรรมขององค์กรการกุศลหรือองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเงินที่สมเหตุสมผล หรือไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมขององค์กรตามที่แจ้งกับอีกฝ่ายที่ทำธุรกรรมด้วย
    24. พบความไม่สอดคล้องที่ไม่สามารถอธิบายได้ในขั้นตอนการระบุและยืนยันตัวตนลูกค้า (เช่น ที่อยู่ในฮ่องกงในอดีตและปัจจุบัน, หนังสือเดินทางฮ่องกง, ประเทศที่ลูกค้าเคยไปตามที่บันทึกในหนังสือเดินทาง, เอกสารประกอบที่ยืนยันชื่อ, ที่อยู่และวันเกิดของลูกค้า)
    25. โครงสร้างผู้จัดการทรัพย์สินหรือตัวแทนถือทรัพย์มีความซับซ้อน
    26. ทำธุรกรรมหรือโครงสร้างบริษัทแบบ Eternal Global Market หรือดำเนินการทางพาณิชย์โดยไม่จำเป็น เช่น บริษัทออกใบหุ้นที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือ (bearer shares) หรือออกเอกสารกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือทางการเงินโดยไม่ระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือใช้ที่อยู่ติดต่อเป็นตู้ ป.ณ.
    27. ใช้เอกสารตัวแทนถือทรัพย์ (nominee) ในลักษณะที่ขัดขวางการควบคุมของคณะกรรมการบริษัท
    28. เจ้าหน้าที่ในสถาบันทางการเงินเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (เช่น ใช้ชีวิตหรูหราขึ้นหรือเจ้าหน้าที่ต้องการทำงานในออฟฟิศแม้จะเป็นวันหยุด)
    29. เจ้าหน้าที่ในสถาบันการเงินเปลี่ยนลักษณะการปฏิบัติงานหรือเปลี่ยนพฤติกรรม

ขั้นตอนการเก็บบันทึก

ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องเก็บบันทึกเอกสารต่อไปนี้:

  1. เอกสารการระบุตัวตนลูกค้าในขั้นตอนการตรวจสอบลูกค้าและยืนยันตัวตนลูกค้า (ถ้าบังคับใช้)
  2. บันทึกข้อกำหนดบริการทางการเงินที่ลูกค้าเลือกใช้

บริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลที่ระบุข้างต้นเป็นเวลาอย่างน้อยห้า (5) ปีนับจากวันทำธุรกรรมหรือวันสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางธุรกิจ บริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลในข้อ (1) และ (2) ข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบจนกว่าหน่วยงานตรวจสอบจะยืนยันว่าการตรวจสอบเสร็จสมบูรณ์และปิดเคสแล้ว

รูปแบบของบันทึก

ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องเก็บเอกสาร/ข้อมูลที่ระบุข้างต้นที่เป็นฉบับจริงหรือฉบับสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้องในรูปแบบเอกสารฉบับพิมพ์และในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทต้องสามารถเรียกใช้เอกสารนี้ได้อย่างไม่ล่าช้าและนำเสนอข้อมูลให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลได้ตลอดเวลาถ้าหน่วยงานเหล่านี้มีคำขอ

หากบริษัทกำหนดนโยบายการเก็บเอกสาร/ข้อมูล นโยบายนี้ต้องพิจารณาข้อกำหนดตามกฎหมายด้วยการรับรองเอกสารและภาษาในเอกสาร

  1. เอกสาร/ข้อมูลที่เก็บต้องเป็นฉบับจริงหรือฉบับสำเนาที่มีการรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่รับรองสำเนาโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทหรือโดยบุคคลที่สามตามที่ระบุใน “การอ้างอิงบุคคลที่สามเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้า” เอกสารต้องรับรองโดยทนายโนตารี่
  2. ในกรณีที่เอกสารในข้อ (1) เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแนบฉบับแปลมาด้วย ทุกครั้งที่บริษัทยอมรับลูกค้าใหม่ ฝ่ายธุรการ/กิจการภายในของบริษัทมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ (1) และ (2) ข้างต้น

ความรับผิดชอบของฝ่ายกิจการภายใน

ฝ่ายกิจการภายในของบริษัทมีหน้าที่ต่อไปนี้ในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย:

  1. เจ้าหน้าที่ของบริษัทมีความรับผิดตามกฎหมายหากเจ้าหน้าที่ไม่รายงานข้อมูลหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย
  2. เจ้าหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือและรายงานทันทีที่พบธุรกรรมที่น่าสงสัยแม้เพียงเล็กน้อยว่าอาจเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย
  3. นอกจากข้อ (2) แล้วเจ้าหน้าที่ของบริษัทมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรายงานเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย

นโยบายการให้ความรู้และการฝึกอบรม

    1. เจ้าหน้าที่ต่อต้านการฟอกเงินต้องแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัททราบหน้าที่ตามกฎหมายของตนเองโดยจัดโปรแกรมให้ความรู้และการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วน
    2. ช่วงเวลาและเนื้อหาโปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆกำหนดตามความจำเป็นของบริษัท ความถี่ของการฝึกอบรมขึ้นอยู่กับการปรับแก้กฎหมายและ/หรือข้อกำหนดของหน่วยงานที่กำกับดูแล, หน้าที่ของเจ้าหน้าที่และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆในระบบการเงิน
    3. โปรแกรมการฝึกอบรมมุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนแก่การก่อการร้าย, แนวการปฏิบัติและแนวโน้มตามวัตถุประสงค์นี้

หมายเหตุ : หากเอกสารฉบับนี้มีการตีความเป็นภาษาอื่น หรือเกิดข้อพิพาทในการตีความหมาย ให้อิงฉบับภาษาอังกฤษมาใช้ในการตีความและตัดสินเป็นหลัก